Holiday Journal

Holiday Journal
Hi, Lets look around cool places in Korea together with me! :)
465 | 20252565

Mungyeong #8 - Coal Museum - (Korea Tour)
 | Holiday Journal
Last Modified : 2017/03/27

Travel regions : South Korea
 | Hits : 574926
https://blog.lookandwalk.com/ru/blog/mazinguide/1004/trackback

การสิ้นสุดของประวัติศาสตร์ของ Mungyeongและความอาลัยอาวรณ์ที่พิพิภัณฑ์ถ่านหิน. 석탄박물관


ตอนนี้พวกเรากำลังไปที่พิพิธภัณฑ์ถ่านหินMungyeong ในGaeun-gup, Mungyeong. Mungyeong-si มีเหมืองถ่านหินที่ใหญ่เป็นอันดับสองในเกาหลีและเริ่มพัฒนา'เหมืองถ่านหินชนิดแข็งEunseong ' ตั้งแต่ปี1938 สมัยญี่ปุ่นเข้ายึดครอง.ตั้งแต่นั้น,พวกเขาขุดถ่านหินเป็นเวลาเกือบ60ปี แต่ความต้องการนั้นเริ่มที่จะลดลงและปิดเหมืองในปี1994. ทางประวัติศาสตร์,ประโยชน์ที่ถ่านหินให้แก่พวกเราคือเชื้อเพลิงนั้นมากมายเหมือนเป็นของขวัญจากพระเจ้าและที่นี่ในพิพิธภัณฑ์,คุณสามารถเห็นขั้นตอนทุกขั้นตอนของการขุดถ่านหินและผลิตถ่านหินกลมหรือถ่นหินรีเช่นเดียวกับชีวิตที่ยุ่งเหยิงของคนงานเหมืองและชีวิตของพวกเขาก็เกี่ยวข้องกับถ่านหิน.



โอเค,งั้นเข้าไปในพิพิธภัณฑ์ถ่านหินกันเถอะเพื่อดูว่ามีอะไรในนั้น.ผมโตแล้วแต่ก็ยังขี้สงสัย.



เกี่ยวกับตั๋ว,อย่างที่ผมบอกคุณก่อนหน้านี้ตอนที่ผมพูดถึงสถานที่ถ่ายทำGaeun,คุณสามารถซื้อตั๋วทั้งสองที่ด้วยกันเพียง 2,000วอน.พวกเขาจะไม่ขายแยก,แต่ขายเป็นแพ็คเกจเดียวดังนั้นอย่าลืม.

อย่างไรก็ตาม,ถ้าคุณวางแผนที่จะไปสถานที่ถ่ายทำGaeunโดยรถราง,คุณจะประหยัดถึง1,000 วอนโดยซื้อตั๋วที่ห้องขายตั๋วรถรางตรงข้างรถรางดีกว่าซื้อตรงหน้าพิพิธภัณฑ์ถ่านหิน.พวกเขาจะลดราคาให้1,000 วอนสำหรับตั๋วทั้งสองที่ถ้าคุณใช้รถราง.ดังนั้นสำหรับผู้ที่อยากจะไปสถานที่ถ่ายทำ Gaeunด้วยรถราง,อย่าลืมที่จะซื้อตั๋วที่'ห้องขายตั๋วสำหรับรถราง'.



โอเค,ตอนนี้พวกเราอยู่ในพิพิธภัณฑ์ถ่านหินแล้ว.ในสนาม,อุปกรณ์ขุดถ่านหินเก่าๆได้ถูกจัดแสดงไว้.



เหมืองถ่านหินนั้นแคบ,และทางและรถไปก็เหมือนกัน.



เด็กๆน่าจะชอบที่นี่ถ้าพวกเขาลองมาดู.บวกกับ,คนเก่าแก่จะเล่าเรื่องให้พวกเขาฟังเกี่ยวกับสมัยก่อนซึ่งเด็กๆและคนแก่ๆทั้งคู่ก็จะรู้สึกดีไปด้วยกัน.



ทางด้านซ้ายของทางเข้า,พวกเขาได้สร้างบ้านของคนเหมืองที่เคยอยู่ขึ้นมาใหม่.ผมจะลองเข้าไปในนี้ก่อน.



นี่คือที่ที่พวกเขาสร้างบ้านและร้านค้าในตำบลที่สำนักงานเหมืองEunseong เป็นเจ้าของในปี1960s ถึง 1970s.ขึ้นมาใหม่.พวกเขาใช้ตุ๊กตาและสิ่งของต่างๆเพื่อแสดงถึงว่าชาวเหมืองเคยอยู่ยังไงซึ่งสนุกและน่าประทับใจ,และมันก็ดูเหมือนจริงมากๆตอนที่ได้ยินเสียงของผู้คนที่ฉายในทีวีตอนนั้น.



ผู้ชายคนนี้จะต้องดื่มmagolli กับ samgyupsalในบาร์เก่าๆหลังเลิกงาน.



ตอนที่ผมเป็นเด็ก,ร้านขายบุหรี่ทุกร้านในเมืองดูเหมือนอย่างนี้.ผมยังจำได้ที่สูบCheongjaและ Baekja ในตอนอายุราวๆ 20.แน่นอนผมไม่ได้สูบบุหรี่อีกต่อไปแล้ว......



นี่น่าจะเป็นร้านเล็กๆในเมือง.ผมเห็นสิ่งที่ผมไม่ได้เห็นมานาน.หมากฝรั่งล็อตเต้,และHaitai! ถ้าคุณมองมันใกล้ๆ,มีjjonduigiและbravo-cone.ว้าว,นี่มันนำผมกลับไปยังสมัยก่อน.



ผมสามารถจินตนาการที่ทุกคนอาศัยอยู่ในบ้านเล็กๆกับห้องเล็กๆและครัวในนั้นใกล้กับเหมือง.เมื่อตอนผมเป็นเด็กราวๆปี1970s, ไม่นานนักจากตอนนี้,คนส่วนใหญ่อศัยอยู่ในบ้านที่มีห้องเล็กๆและห้องครัวขนาด1-pyeong .ผมจำได้ว่ามันเป็นเพราะว่าเราเรียกเด็กที่อาศัยอยู่ในบ้านที่มี2ห้องหรือ2ชั้นว่าคนรวย.



มันเจ็บปวดถ้าจะนึกถึงแม่ของพวกเราในสมัยก่อนเมื่อตอนยังไม่มีทีวี,เครื่องซักผ้าหรือหม้อหุงข้าวไฟฟ้า.ผมหวังว่าทุกคนรวมถึงเด็กๆที่ได้มาที่นี่จะรู้ึก,ตอนที่พวกเขาอาศัยอยู่ที่นี่,ที่พวกเราอยู่อย่างสบายๆทั้งหมดนี้เพราะพ่อแม่ของพวกเราได้ทำให้พวกเรามีผลประโยชน์ในปัจจุบันนี้.



ผมจำนี่ได้ใบอนุญาติ "เครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์".เมื่อตอนมีทีวีที่บ้าน,พวกเราต้องจ่ายค่าลงทะเบียน1,000 วอนสำหรับทีวี.ในปัจจุบัน,มันรวมอยู่กับค่าไฟแต่ว่าเมื่อตอนนั้น,จะมีคนมาเพื่อเก็บเงินเหมือนบางคนมาที่บ้านเพื่อเก็บเงินค่าหนังสือพิมพ์.คนจนๆที่ไม่สามารถจ่ายได้ก็จะรีบซ่อนโทรทัศน์เมื่อตอนมีคนมาเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับทีวี.ผมบอกได้ว่า 1,000 วอนตอนนั้นในยุค 70sนั้นค่อนข้างเป็นจำนวนที่สูง,เทียบกับตอนนี้ก็ประมาณ สามถึงสี่หมื่นวอน.



มันถึงเวลาที่จะเข้าไปในพิพิธภัณฑ์ถ่านหิน Mungyeongแล้ว.มีรูปแกะสลักที่น่าประทับใจตั้งอยู่ตรงทางเข้า.



ในห้องจัดแสดงที่ชั้นสอง,พวกเราสามารถเห็นต้นกำเนิดของถ่านหิน,แร่ธาตุและฟอสซิล จัดแสดงอยู่มันช่วยให้พวกเราเข้าใจถ่านหินทั่วๆไป.คุณเห็นประกายด้านบนมั้ย?นั่นคือแร่ที่มีส่วนผสมของทองและเงินอยู่.



ผมพบว่ามันมีถ่านหินอยู่หลายแบบ,ไม่ใช่แค่แบบเดียว.ผมแปลกใจนิดหน่อยและมันก็น่าสนใจ.



มีฟอสซิลจริงๆจัดแสดงอยู่และก็เรื่องตลกๆของพวกมันด้วย.



ผมเจอแร่อมิทิสก้อนยักษ์และสังเกตุเห็นว่ามีหินหยาบๆอยู่หลายชนิดที่ทำเป็นอัญมณีได้.ผมเดาว่าเมื่อพวกเขาเจอหินหยาบก้อนใหญ่ขนาดนี้มันจะต้องอยู่ในพิพิธภัณฑ์เพื่อที่ทุกคนจะได้เห็นมัน.



มีถ่านหินสำหรับเตา,ถ่านหินสำหรับช่างทองเหลืองและถ่านหินที่ใช้แล้วในยุคก่อน.ผมสามารถเห็นที่ขนถ่านหิน,22ถ่านหินนั้นส่วนใหญ่ใช้ในบ้านในยุค70sถึง 80s,และถ่านหินรีนั้นไว้ใช้ในเตาที่บริษัทหรือโรงเรียน.



พวกเขาโชว์การเอาถ่านหินออกโดยใช้เตรื่องมือจากในยุคเก่า.โอเคถ้างั้น,เข้าไปในเหมืองถ่านหินจริงๆกันเถอะ.



ท้าด๊า!นี่คือเหมืองEunseong จริงๆด้านหลังของอาคารพิพิธภัณฑ์'Gaeng' คือคำย่อของGaengdo(坑道) ซึ่งหมายถึงอุโมงค์ที่ถูกขุดใต้ดินเพื่อขุดถ่านหิน.ในจุดๆนี้,พวกเขาเคยขุดถ่านหินจนถึงปี 1994. ความลึกของเหมืองนั้นประมาณ800 m และ ความยาวของที่ที่ใช้ขุดถ่านหินนั้นประมาณ400 km.พวกเราเข้าไปดูข้างในกันมั้ย?



อากาศข้างนอกนั้นร้อนแต่ข้างในนี้เย็น.ผมเดาว่ามันจะต้องเย็นในช่วงหน้าร้อนและอุ่นในช่วงหน้าหนาว.



มีตุ๊กตาหุ่นขี้ผึ้งจัดแสดงในที่ที่พวกเขาเคยทำการขุดถ่านหินตามเหมืองซึ่งทำให้พวกเราได้เห็นถึงว่าพวกเขาอยู่ในเหมืองกันอย่างไร.



คุณจะสามารถเห็นได้ว่ามีหลุมใหญ่ๆอยู่ใต้ดิน.มันค่อนข้างจะน่ากลัวแต่ถ้าต้องนึกถึงชาวเหมืองที่ต้องเข้าไปในนั้นทุกวัน,มันจะต้องมีปัญหาและงานที่หนักทุกวัน.ผมรู้สึกถึงไอเย็นๆออกมาจากข้างในหลุม.น่ากลัว!



ผู้คนสามารถใช้ถ่านหินอุ่นๆทั้งหมดก็เพราะว่าชาวเหมืองที่ยากลำบาก,เสี่ยงชีวิตอยู่ในแก๊สอันตรายภายใต้ความเสี่ยงของการถล่มและพยายามที่จะมีชีวิตอยู่ด้วยความหลงไหลทั้งๆที่พวกเขาต้องกินข้าวกล่องในความมืด,คุณคิดเหมือนกันมั้ย?ที่นี่ทำให้ผมรู้สึกขอบคุณแก่ชาวเหมืองและนึกถึงถ่านหินที่ผมไม่ได้สนใจมากนักเนื่องจากมันหาและใช้ง่าย.พิพิธภัณฑ์มีหลายสิ่งหลายอย่างน่าสนใจซึ่งผมก็อยากแนะนำให้คุณมาที่พิพิธภัณฑ์ถ่านหินMungyeong ถ้าคุณมีโอกาสได้มายังMungyeong.

Map

ที่อยู่: 432-5, Wangneung-ri, Gaeun-eup, Mungyeong-si, Gyeongsangbuk-do (경상북도 문경시 가은읍 왕능리 432-5)
โทรศัพท์: 054-550-6424 / 571-2475


석탄박물관, 박물관, 석탄, 석탄촌, 은성갱, 갱도, 탄광, 탄광촌, CoalMuseum, museumcoal, CoalVillage, Eunseongmine, coalmine, mine, miningvillage, 石炭博物館, 博物館, 石炭, 石炭村, 恩城坑, ウンソンゲン, 坑道, 炭鉱, 炭鉱村, 煤炭博物馆, 博物馆, 煤炭, 煤炭村, 恩城坑道, 煤矿, 煤矿村, ถ่านหินพิพิธภัณฑ์, พิพิธภัณฑ์, ถ่านหิน, ถ่านหินหมู่บ้าน, SilverStar, แก๊ง, อุโมงค์, เหมือง, เมืองเหมืองแร่
One line comment(0) 
PDF
Bookmark
E-mail
0bytes / 200bytes
View list